หนองข่วงน้ำใส     ป่าไม้เขียวขจี     ดีเด่นวัฒนธรรม     ล้ำเลิศครูบาอภิวงศ์     ดำรงเกษตรอินทรีย์     วิถีชีวิตพอเพียง
ข้อมูลทั่วไป
คำขวัญ วิสัยทัศน์ พันธกิจ
ข้อมูลพื้นฐานตำบล
สภาพเศรษฐกิจ
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
แหล่งท่องเที่ยว
โครงสร้างพื้นฐาน
แผนที่
ทรัพยากรธรรมชาติ
อำนาจหน้าที่
โครงสร้างทางการบริหารงาน
โครงสร้างส่วนราชการ
ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา
Social Network
ร้องเรียนทุจริต
 
โครงสร้างบริหาร
คณะผู้บริหาร
สมาชิกสภา
ผู้บริหารฝ่ายประจำ
สำนักปลัด
กองคลัง
กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
กองช่าง
หน่วยตรวจสอบภายใน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา

 

ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 1
          การพัฒนาระบบคมนาคมและขนส่งภายในตำบลแม่ลอยเพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจในท้องถิ่น และการเชื่อมโยงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีแนวทางการพัฒนาดังต่อไปนี้

          1.1 การพัฒนาระบบคมนาคมและขนส่ง  ทางระบายน้ำ  สะพาน  ท่าเทียบเรือ และการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นเพื่อรองรับการขยายตัวในด้านการค้าและการลงทุน

          1.2 ส่งเสริมและสนับสนุน การพัฒนาพืชเกษตร สัตว์เศรษฐกิจ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 2
          การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว มีแนวทางการพัฒนาดังต่อไปนี้

          2.1 ส่งเสริมแนวทางการพัฒนาตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ประชาชนได้พึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน

          2.2 ส่งเสริมการสร้างงานและสร้างอาชีพให้แก่ประชาชน เพื่อเพิ่มรายได้ให้  แก่ครอบครัว และการจัดการตลาด เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอาชีพทั้งภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และหัตถกรรม กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผู้ผลิตสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) อย่างครบวงจร ตั้งแต่การผลิตจนถึงการตลาด

          2.3 การพัฒนาระบบชลประทาน หรือการพัฒนาแหล่งน้ำ และระบบบริหารจัดการน้ำ เพื่อสนับสนุนผลผลิตทางด้านการเกษตร และรองรับการปลูกพืชเศรษฐกิจ การขยายพันธุ์พืช และพันธุ์สัตว์ที่ขาดแคลน เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

          2.4 เพิ่มประสิทธิภาพเมล็ดพันธุ์และพันธุ์สัตว์ ตลอดจนส่งเสริมเครือข่ายการเรียนรู้เกษตรกรในพื้นที่ด้านการผลิต การแปรรูป การจำหน่ายและการตลาด เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

          2.5 เสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเดิมและจัดหาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ตามศักยภาพของพื้นที่ให้เป็นโครงข่ายความร่วมมือกับจังหวัด และประเทศ

          2.6 ส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อม  วิถีชีวิต วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น พร้อมยกระดับมาตรฐานด้านบริการและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวสร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยวและผู้มาเยือน


ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 3
          การพัฒนาด้านการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีแนวทางการพัฒนาดังต่อไปนี้

          3.1 ส่งเสริมและสนับสนุน การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาทั้งในระบบนอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้มีคุณภาพและตามเกณฑ์มาตรฐาน

          3.2 ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาการเรียนรู้   เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

          3.3 พัฒนาองค์ความรู้บุคลากรทางการศึกษาผู้สอนภาษาต่างประเทศและความรู้เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน พร้อมได้รับการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ

          3.4 สนับสนุนการเรียนรู้คู่คุณธรรม ร่วมกับสถาบันทางศาสนา รวมทั้งส่งเสริมการศึกษาที่คำนึงถึง ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมทางด้านภาษา และการแต่งกายล้านนา

          3.5 ส่งเสริมการเรียนรู้อนุรักษ์และเผยแพร่วัฒนธรรมประเพณี สังคมและค่านิยมล้านนาเชื่อมโยงวัฒนธรรมอาเซียน

          3.6 พัฒนาสื่อการเรียนการสอน และเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่เพื่อเปิดโอกาสการเรียนรู้อย่างกว้างขวางและทั่วถึง

          3.7 ประสานและสร้างความเชื่อมโยงในการศึกษาทุกระดับเพื่อตอบสนองตลาดแรงงานและศักยภาพกำลังแรงงาน


ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 4
          การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมเพื่อให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข มีแนวทางการพัฒนาดังต่อไปนี้

          4.1 ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบการบริการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว การรักษาพยาบาล  การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อให้มีคุณภาพครอบคลุมโดยการมีส่วนร่วมทุกภาคีเครือข่าย

          4.2 สนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่นและแพทย์ทางเลือกในการดูแลและรักษาสุขภาวะชุมชน

          4.3 ส่งเสริมและสนับสนุน การอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมล้านนา จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

          4.4 ส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านสวัสดิการสังคม การสังคมสงเคราะห์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส

          4.5 สนับสนุนที่พักอาศัยแก่ผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากจน ให้มีที่อยู่อาศัยที่ดี คงทน ถาวร และมีสภาพแวดล้อมที่ดี

          4.6 ส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชนในท้องถิ่น  ตลอดจนให้ความสำคัญกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ให้ได้รับอาหารเสริมนมและอาหารกลางวันอย่างครบถ้วน และเป็นธรรม

          4.7 สนับสนุนงานด้านการส่งเสริมอาชีพและฝึกอาชีพให้กับประชาชน กลุ่มแรงงานนอกระบบ กลุ่มผู้ไม่มีงานทำ เพื่อก่อให้เกิดการสร้างงานและอาชีพ รวมทั้งการส่งเสริมให้กลุ่มผู้สูงอายุและผู้พิการมีงานทำและมีรายได้เพื่อการยังชีพ

          4.8 ส่งเสริมและพัฒนาการจัดระเบียบชุมชน งานด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย งานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน  ตลอดจนการให้ความสำคัญกับระบบเตือนภัยที่เกิดจากภัยธรรมชาติและภัยพิบัติในท้องถิ่น

          4.9 ส่งเสริมและสนับสนุนงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างเป็นระบบ ปัญหาอาชญากรรม และการค้ามนุษย์ภายใต้การบริหารจัดการอย่างบูรณาการและมีประสิทธิภาพ

          4.10 ส่งเสริมสนับสนุนการกีฬาและนันทนาการ เพื่อให้เกิดการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจควบคู่กับการให้การศึกษา

          4.11 ส่งเสริมและสนับสนุน ทะนุบำรุง พระพุทธศาสนา

 

ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 5
          การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ดำรงความสมบูรณ์และยั่งยืน มีแนวทางการพัฒนาดังต่อไปนี้

          5.1 ส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อม  ขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล  น้ำเสียในชุมชน มลพิษทางอากาศ ตลอดจนการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของชุมชนท้องถิ่นและลดผลกระทบจากภาวะโลกร้อน

          5.2 เสริมสร้างความร่วมมือและสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชน ในการดำเนินการอนุรักษ์ การคุ้มครองดูแลและบำรุงรักษาป่าไม้  น้ำ ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ให้เกิดประโยชน์และเกิดผลสำเร็จอย่างยั่งยืนและตามแนวทางพระราชดำริ

          5.3 พัฒนาองค์ความรู้และเสริมสร้างให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

          5.4 ส่งเสริมสนับสนุนการจัดทำฝายต้นน้ำ (Check Dam) เพื่อชะลอการไหลของน้ำและตะกอนเสริมความสมบูรณ์ของป่า


ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 6
          การพัฒนาด้านการเมืองการบริหาร มีแนวทางการพัฒนาดังต่อไปนี้

          6.1 ส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค สิทธิเสรีภาพของประชาชน และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น

          6.2 เสริมสร้างความปรองดองสมานฉันท์ ในชุมชนและท้องถิ่น  บนพื้นฐานของความถูกต้อง ยุติธรรมและการยอมรับของทุกภาคส่วน

          6.3 พัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านการคลัง วิธีการงบประมาณ การบริหารงานบุคคลให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ทันสมัยและประชาชนมีส่วนร่วม ทั้งนี้เพื่อการแก้ไขปัญหาของประชาชนและการให้การบริการที่มีประสิทธิภาพ

          6.4 พัฒนาปรับปรุงเครื่องมือ เครื่องใช้และเทคโนโลยี สถานที่ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

          6.5 ส่งเสริมสนับสนุนให้มีระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตภายในตำบลแม่ลอย

          6.6 พัฒนาระบบการจัดหารายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

          6.7 พัฒนาและบริหารจัดการภารกิจถ่ายโอนให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล

          6.8 เสริมสร้างระบบด้านการประสานเครือข่ายในการพัฒนาท้องถิ่นให้เข้มแข็งเพื่อให้เกิดความร่วมมือและการบูรณาการร่วมกัน

 
 

องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลอย อ.เทิง จ.เชียงราย
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลอย
158 ม.8 ต.แม่ลอย อ.เทิง จ.เชียงราย 57230 โทร. 053-178580 แฟกซ์ 053-178580 ต่อ 18
Email Address : maeloiml158@gmail.com
ผู้เข้าชมเว็บ 767147 ครั้ง กำลังออนไลน์ 4 คน
Last Update © 2023 www.maeloi.go.th. All Rights Reserved.

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น